วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ  
            กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ

ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional Law) เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและ

จะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้

พระราชบัญญัติ  หมาย ถึง บทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐ ธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
                 พระราชกำหนด หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) พระราชกำหนดมีอยู่2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วไป และพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา
พระราชกฤษฎีกา หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เทศบัญญัติ  หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496
ผู้ เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้า ชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542

2.กฎหมาย รัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่าง ไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
    กฎหมาย รัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคแก่คนไทยทุกคน ซึ่งหากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่า ประเทศชาติไม่มีระบบการปกครองที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ปัญหาของประชาชน ขาดความสามัคคีในประเทศ ไม่มีคำว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวส่วนกลางซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่หลากหลายตามมา รวมไปถึงสถาบันการขาดมาตรฐานต่าง ๆ ในการรองรับบุคลากรใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล    รัฐธรรมนูญมาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใด หมิ่นประมาท ดู หมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" ข้าพเจ้าคิดว่า บทลงโทษต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพึงตระหนักไว้แล้วควรหรือมิควรในการกระทำสิ่งใดลงไป ฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจึงต้องดำเนินการตามกฎหมาย หากมีการผ่อนผัน ลดโทษก็แล้วแต่จะเห็นสมควรจากรัฐธรรมนูญ
4.กรณี เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็น กรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน 
    ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งและจากการที่ได้ติดตามข่าวสารเรื่องนี้นั้น ทำให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นต่อประชาชนของประเทศไทยในเรื่องของการแบ่งแยกดินแดนระหว่าง 2 ประเทศเพื่อนบ้านยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยมีทหารหรือคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ทำการก่อเหตุ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น และที่สำคัญคือ กรณีของเขาพระวิหารที่ตอนนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลย สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ การเจรจา ไตร่ตรอง หาวิธีที่งดใช้ความรุนแรงมากที่สุด ใช้เหตุผลมากกว่ากำลังของประชาชนเพื่อความเสมอภาคของทุกคน
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
   เห็นด้วย กับ “ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ”  เพราะ ในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาเขียนไว้ และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการ ศึกษา เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่ว ถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้น พื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกัน คุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
           การศึกษา หมายถึง "การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว" การศึกษาจึงสำคัญต่อทุกคนและได้รับการยอมเป็นอย่างดีในการอยู่กับคนในสังคม

การศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายถึง การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
ด้านที่  1.ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 
ด้านที่ 2.สามารถประกอบการงานอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ 
ด้านที่ 3.ทำให้สามารถพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าได้ 
ด้านที่ 4.และการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งมีสิ่งใดบ้างที่จะสร้างพื้นฐานให้ครบถ้วนทั้งสี่ด้านนี้ได้ คือเป้าหมายที่ต้องการให้คนได้รับและเกิดขึ้นก็คือ การวางพื้นฐานชีวิตด้วยการเรียนภายในเวลาสิบสองปีให้ได้ความรู้ให้มากที่สุด เพื่อที่จะสามรถนำไปใช้ได้ในอนาคตต่อไป
การศึกษาตลอดชีวิต  หมาย ถึง เป็นการศึกษาที่รวมระหว่าง การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนได้อย่างต่อเนื่องและตลอด ชีวิต
การศึกษาในระบบ   หมาย ถึง เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ  หมาย ถึง เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคลแต่ล่ะกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย  หมายถึง วิธีการที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นโดยการถูกผลักดันให้ เกิดขึ้นผ่านกระบวนการสนทนา เกี่ยวข้องกับการสำรวจ และขยายประสบการณ์ โดยไม่อาจทำนายล่วงหน้าได้ เป็นสิ่งที่บังเอิญเกิดขึ้นอุบัติขึ้น
สถานศึกษา  หมาย ถึง เป็นสถานที่ในจัดการการเรียนรู้ เช่น โรงเรียน สถาบัน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชนจัดให้ก็ได้
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา  หมาย ถึง มาตรฐานหรือข้อกำหนด เช่น คุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นในการประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายใน  หมาย ถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยคนในสถานศึกษาเป็นผู้ประเมินเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น


การประกันคุณภาพภายนอก  หมาย ถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจาก ภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน ) บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน  หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู  หมาย ถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
คณาจารย์  หมายถึง เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ทั้งรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ผู้บริหารสถานศึกษา  หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
          บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
        ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษานั้น ต้องจัดการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน โดยต้องพัฒนาทุกคนให้สมบูรณ์ทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ จิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ของการศึกษา
         หลักการจัดการศึกษา นั้น ต้องเป็นการศึกษาที่จัดให้ให้กับคนไทยทุกคน อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และต้องพัฒนาสาระ กระบวนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคนไทยตามความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
   ไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ..2546 ได้กำหนดไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง เป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4)   ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ซึ่ง ผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้ เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
 9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
   1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
       พ.ศ. 2547 และ
   2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
       ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
   3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
       วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
        สำหรับการเรียนในรายวิชานี้นักศึกษาได้ความรู้ในหลากหลายรูปแบบ เช่นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่หลากหลาย สามารถนำไปต่อยอดสู่วิชาอื่นๆได้โดยที่ไม่เปลืองเวลาได้ความรู้ที่หลากหลาย นำประโยชน์ที่ได้จากวิชานี้ ไปประยุกต์ใช้ในการเป็นครูต่อไป
       สำหรับครูผู้สอน ในการใช้ Weblog ในการเรียนการสอนสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในวิชานี้ซึ่งดิฉันในฐานะนักศึกษาคนหนึ่งคิดว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างมากในการนำ Weblog มาใช้ในการสอน ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกการศึกษาเป็นส่วนมากจึงทำให้ต้องมีการพัฒนาในด้านนี้เพื่อให้เท่าทันกับประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ล้าหลังประเทศอื่น
       ถ้าจะให้เกรด ดิฉันอยากได้เกรด A เพราะตั้งใจทำ Weblog มาก จากที่เมื่อก่อนทำไม่เป็นหลังจากที่ได้เรียนกับอาจารย์ ก็ทำ Weblog เป็นและในการเรียนในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น